การเปลี่ยนแปลงไปสู่ IFRS – คณะผู้ตรวจสอบควรตั้งคำถามอะไร

การกำกับดูแลมาตรฐานบัญชีให้เป็นแบบเดียวกันทั่วโลกประสบความสำเร็จอย่างดีโดยได้รับความร่วมมือจากบริษัทใน 100 กว่าประเทศ ใช้โครงสร้างแบบเดียวกันตามคู่มือ มาตรฐานการบัญชีแบบเดียวกันทั่วโลก (International Financial Reporting Standard – IFRS) นอกจากนี้ ในหลายประเทศได้ประกาศแผนการเปลี่ยนไปใช้ IFRS ได้แก่ ประเทศแคนาดาและเกาหลี

ประเทศไทยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการรับเอามาตรฐานนานาชาติเพื่อเป็นเครื่องมือในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันมาใช้อย่างยาวนาน สภาวิชาชีพบัญชี (Federation of Accounting Professions in Thailand – FAP) ได้วางแผนในการรวมมาตรฐานบัญชี (Thailand Accounting Standards – TAS) เข้ากับ IFRS โดยปรับปรุงมาตรฐานบัญชีใหม่ ให้ทัดเทียมมาตรฐาน บัญชีสากล และกำหนดบังคับใช้ในหลายฉบับ โดยมีร่าง TAS จำนวน 21 ฉบับกำลังนำเสนอสู่การพิจารณา เพิ่มเติมจาก TAS ฉบับปรับปรุงจำนวน 10 ฉบับที่มีผลบังคับใช้ต่องบการเงิน ที่จัดทำภายหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551

สร้างบทเรียนให้คนอื่น

ประเทศในยุโรปได้มีการรับเอามาตรฐานนี้ก่อนประเทศไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อการวิเคราะห์ คณะกรรมการสหภาพยุโรป จึงได้ทำการสำรวจและจัดทำโครงการ IFRS ในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปขึ้น ผลการสำรวจยืนยันว่าการเปลี่ยนไปใช้ IFRS เป็นงานที่ท้าทายอย่างยิ่ง แต่ประสบความสำเร็จอบ่างดีและได้เล็งไปสู่พัฒนาการของการรายงานระหว่างประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป โดยมีข้อตกลง IFRS ที่ทำให้สามารถจัดทำทำงบการเงินได้ง่ายขึ้นในการเปรียบเทียบกับแต่ละบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกันหรือคู่แข่งขันในอุตสาหกรรมเดียวกันในต่างประเทศ

การสำรวจแสดงให้เห็นว่าอุปสรรคความท้าทายหลายอย่างในการรับเอามาตรฐานบัญชีใหม่และการเปลี่ยนไปใช้ IFRS ประกอบไปด้วย:-

• การอฝึกอบรมพนักงาน, นักลงทุน, บอร์ดคณะกรรมการ;
• ความซับซ้อมในการเปรียบเทียบมาตรฐานของแต่ละประเทศทำให้ งบการเงินตาม IFRS ยากต่อการทำความเข้าใจและเปรียบเทียบ
• การขาดแคลนความรู้ภายใน และผู้ตรวจสอบภายนอก รวมทั้งที่ปรึกษาที่ไว้ใจได้;
• การประเมินราคายุติธรรมที่ไว้ใจได้สำหรับมาตรฐานบัญชีของกิจการและเครื่องมือทางการเงิน และ;
• ต้นทุนในการเปลี่ยนไปใช้มาตรฐานบัญชีใหม่รวมถึงการปรับปรุงระบบไอที การวางระบบแก้ไขนโยบายการรายงานและขั้นตอนการดำเนินงาน การฝึกอบรมพนักงานและการให้ความรู้แก่นักลงทุนและสมาชิกบอร์ดคณะกรรมการ

ภาพรวมเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนในที่ประชุมที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในการรับเอา IFRS ไปใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้เข้าร่วมประชุมมีความเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงไปสู่ IFRS จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ถือหุ้นต่อผู้ถือหุ้นได้ดียิ่งขึ้น ส่งผลไปยังต้นทุนของทุนที่ต่ำลง

ปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จของโครงการเปลี่ยนแปลงไปสู่ IFRS

ความเป็นผู้นำ

การเปลี่ยนไปใช้ IFRS เป็นการเปลี่ยนทั้งโปรแกรม ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนและการอนุมัติงบประมาณจากฝ่ายบริหารตั้งแต่เริ่มต้นตลอดการวางระบบ เนื่องจากมีความยุ่งยากในการเปลี่ยนโปรแกรม ผู้ที่รับผิดชอบในการวางระบบจึงจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนในด้านต่างๆ อย่างพอเพียง

การสื่อสาร

การตัดสินใจเปลี่ยนไปใช้ระบบ IFRS ต้องศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีความจำเป็นในการขับเคลื่อนองค์กรทั้งระบบในการรับการเปลี่ยนแปลง การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพอาศัยเหตุผลดังต่อไปนี้:-

• นักลงทุนและผู้ให้สินเชื่อจำเป็นต้องเข้าใจว่ามาตรฐานบัญชีใหม่และการเปลี่ยนไปใช้ IFRS มีผลกระทบอย่างไรต่อข้อมูลทางการเงินของกลุ่มบริษัท; และ
• พนักงานควรมีความเข้าใจถึงเหตุผลในการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่อพวกเขา

ทรัพยากร

ในการกำหนดระดับการใช้ทรัพยากรเพื่อให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง เกี่ยวข้องกับหัวข้อได้ดังต่อไปนี้:-

• ต้องใช้พนักงานอะไรบ้าง?
• ควรมอบหมายให้ใครรับผิดชอบต่อโครงการ?
• จะกระตุ้นพนักงานอย่างไร? และ
• จะต้องสอดคล้องกับอะไรบ้าง?

ความรู้

คุณสมบัติในการเป็นสมาชิกทีมงานของโปรเจ็กต์คือความรู้ ซึ่งไม่ใช่เพียงแต่ความรู้ในทางเทคนิคของ IFRS แต่ควรให้ความสำคัญกับ:-
• การรู้จักเครื่องมือและวิธีการในการวางระบบ IFRS และขั้นตอนการรายงานภายในกลุ่ม;
• ความเข้าใจในธุรกิจและการทำธุรกรรม ที่ส่งผลต่อกิจกรรมของกลุ่ม:-
• การเพิ่มความรู้ในขั้นตอนการรายงานและเทคโนโลยีที่สนับสนุน

ทีมงานโครงการจำเป็นต้องประกอบไปด้วยบุคคลที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญต่างกันที่สามารถทำงานร่วมกันได้เป็นทีมเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน

ข้อดีในการเปลี่ยนไปใช้ IFRS

การเปลี่ยนไปใช้ IFRS นอกเหนือจากการดึงดูดนักลงทุนและสอดคล้องกับข้อบังคับตามกฎหมาย บริษัทที่เปลี่ยนแปลงระบบยังได้รับผลประโยชน์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้

• IFRS ทำให้มีความสอดคล้องกันทั้งบริษัท – ส่งเสริมความสัมพันธ์กับลูกค้า และ ผู้จัดส่งวัตถุดิบจากทั่วโลก เนื่องจากงบการเงินตาม IFRS เป็นมาตรฐานเดียวกัน เนื่องจากธุรกิจในประเทศไทยมีความเป็นนานาชาติมากขึ้นในแง่ของนักลงทุนและการดำเนินงาน IFRS ช่วยให้สามารถเปรียบเทียบบริษัทในประเทศไทยกับบริษัทอื่นๆ ได้ทั่วโลก
• IFRS เป็นแรงผลักดันให้เกิดการควบกิจการระหว่างประเทศ เป็นหุ้นส่วนและพันธมิตรกับธุรกิจในต่างประเทศเพื่อลดต้นทุนในความร่วมมือกันหลังจากการควบกิจการ
• ส่งเสริมคุณภาพและความสอดคล้องของข้อมูล เพื่อหลีกเลี่ยงการรายงานซ้ำซ้อนและลดต้นทุนด้านการเงิน อาจมีการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มบริษัทที่อยู่คนละพื้นที่ในการจัดทำงบการเงินสำหรับการรายงานภายนอก; หนึ่งฉบับสำหรับงบการเงินภายในประเทศ ฉบับที่สองสำหรับบริษัทแม่ ซึ่งทำให้เกิดความยุ่งยากและต้นทุนในด้านการเงิน
• งบดุลตาม IFRS มีความใกล้เคียงต่อมูลค่าทางเศรษฐกิจ ต้นทุนในอดีดจะถูกแทนที่โดยราคายุติธรรมในหลายรายการของงบดุลทำให้บริษัทสามารถแสดงราคาบริษัทที่แท้จริง ตัวอย่างเช่น เครื่องมือทางการเงินและคุณสมบัติการลงทุนจะสะท้อนราคายุติธรรม

ความท้าทายต่อการรวมกัน

ในทำนองเดียวกับการรับเอา IFRS ในทั่วโลก ประเทศไทยจะได้สัมผัสกับความท้าทายดังต่อไปนี้:-

ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี – TAS ไม่ได้แสดงถึงภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ตามมาตรฐานบัญชีสากล 12 – ภาษีเงินได้ต้องระบุรายละเอียดภาษีเงินได้รอตัดบัญชี และจำนวนที่แตกต่างจำเป็นต้องเปิดเผยในงบการเงิน

สวัสดิการพนักงาน – TAS ไม่ได้ครอบคลุมถึงสวัสดิการพนักงาน ตามมาตรฐานบัญชีสากล 19 – สวัสดิการพนักงานตามหลักบัญชีควรรวมเอาสวัสดิการพนักงานระยะสั้นและสวัสดิการพนักงานหลังเกษียณภายใต้แผนการจ่ายเงินปันผล อย่างไรก็ตามยังไม่มีการนำมาใช้จริงในประเทศไทยสำหรับสวัสดิการพนักงานหลังเกษียณภายใต้แผนการจ่ายเงินปันผล; สวัสดิการพนักงานระยะยาวและสวัสดิการการเลิกจ้าง

เครื่องมือทางการเงิน – ในปัจจุบันยังเปรียบเทียบไม่ได้กับมาตรฐานบัญชีสากล 39 – เครื่องมือทางการเงิน: ไม่มีการรับรู้และประเมินตราสารอนุพันธ์ การป้องกันความเสี่ยง การด้อยค่าของสินทรัพย์ทางการเงิน

ทรัพย์สินลงทุน – ในปัจจุบัน TASยังเปรียบเทียบไม่ได้กับมาตรฐานบัญชีสากล 40 – สินทรัพย์ลงทุน: ทรัพย์สินที่ถือครองสำหับการให้เช่าและราคาที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งทรัพย์สิน อาคารและอุปกรณ์ ถูกบันทึกภายใต้มาตรฐานบัญชีไทย 32 – ทรัพย์สิน: อาคารและอุปกรณ์ ฉบับปี พ.ศ. 2003 ตาม IAS16

การออกแบบและพัฒนา
การดำเนินงานทำให้เกิดช่องว่างระหว่าง TAS กับ IFRS ซึ่งจำเป็นต้องเตรียมเอกสารฝึกอบรม IFRS และคู่มือการบันทึกบัญชีที่อธิบายวิธีการและการตัดสินใจ สิ่งที่ต้องพิจารณาประกอบไปด้วย:-
• ตารางเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทดสอบ และวิเคราะห์
• พัฒนาการของการรายงาน และ
• ระบบการควบคุมภายใน

การวางระบบ

การฝึกอบรมเป็นการสร้างความมั่นใจว่าพนักงานเข้าใจการวางระบบและสามารถใช้คู่มือการรายงานสำหรับธุรกรรมภายใต้ IFRS

การกำกับดูแลของคณะผู้ตรวจสอบ

ฝ่ายบริหารเป็นผู้รับผิดชอบต่อการวางระบบและเปลี่ยนไปใช้มาตรฐานบัญชีใหม่ อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนไปใช้ IFRS ต้องได้รับการกำกับดูแลโดยคณะผู้ตรวจสอบ สมาชิกคณะผู้ตรวจสอบควรถามกรรมการว่ามีการบริหารการเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงที่เกี่ยวข่องอย่างไร จุดประสงค์หลักของคณะผู้ตรวจสอบของ IFRS คือกลยุทธ์ในการวางระบบ ทรัพยากรที่ต้องใช้ในการเปลี่ยนแปลงทั้งองค์กร และการประเมินความสมบูรณ์ของโครงการ

ลงมือเริ่มทำงาน

คำถามข้างล่างสำหรับการเริ่มทำงานของคณะผู้ตรวจสอบในกระบวนการกำกับดูแลที่สำคัญ แบ่งออกเป็น 4 หมวด ได้แก่:-

• เป็นโปรเจ็กต์การเปลี่ยนแปลง
• ผลกระทบต่อรายงานทางการเงิน
• ผลกระทบต่อองค์กรธุรกิจและผู้ถือหุ้น และ
• นัยสำคัญต่อคณะผู้ตรวจสอบ

โปรเจ็กต์การเปลี่ยนแปลง

• ฝ่ายบริหารให้การสนับสนุนอะไรบ้างแก่การวางระบบมาตรฐานบัญชีใหม่
• หัวหน้าขององค์กรธุรกิจ ฝ่ายการเงิน HR ภาษี ไอที มีส่วนร่วมต่อความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนแปลงไปใช้ IFRS หรือไม่
• ใช้กลยุทธ์อะไรในการวางระบบมาตรฐานบัญชีใหม่
• อะไรคือจุดประสงค์ในการเปลี่ยนแปลงไปสู่มาตรฐานบัญชีใหม่? จะส่งผลต่อระบบไอทีอย่างไร?
• มีตารางเวลาหรือไม่?
• มีบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดูแลโปรเจ็กต์หรือไม่
• มีคณะกรรมการควบคุมทิศทางของโปรเจ็กต์อย่างเป็นทางการหรือไม่
• องค์กรมีทรัพยากร ความชำนาญ และความรู้ในการวางระบบการเปลี่ยนแปลงอย่างเพียงพอหรือไม่? การฝึกอบรมมาตรฐานบัญชีใหม่อะไรที่ต้องการ?
• ผู้ตรวจสอบภายในมีบทบาทอย่างไร?
• มีแผนการตรวจสอบความก้าวหน้าตามตารางการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?
• มีความเสี่ยงอะไรที่ต้องจัดการ?

ผลกระทบต่อรายงานทางการเงิน

• นโยบายบัญชีอะไรที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการเปลี่ยนไปใช้มาตรฐานบัญชีใหม่?
• การเปลี่ยนมาตรฐานบัญชีใหม่มีผลกระทบอะไรบ้างต่อรายได้, ส่วนของเจ้าของ, อัตราส่วนที่สำคัญ, และการรับรู้รายได้? เรามองเห็นความเสี่ยงอื่นอีกหรือไม่?
• มาตรฐานบัญชีใหม่มีผลกระทบอะไรต่อตัวชี้วัดผลการดำเนินงานและการรายงาน?
• ฝ่ายบริหารเรียนรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนไปใช้ IFRS ที่อาจมีผลต่ออุตสาหกรรมและคู่แข่งขันหรือไม่? ต้องการคำปรึกษาในอุตสาหกรรมโดยรวมหรือไม่?
• การตัดสินใจของฝ่ายบริหารในการใช้นโยบายบัญชีพิเศษปกติแล้วจัดทำเป็นเอกสารหรือไม่?
• เมื่อไหร่ฝ่ายบริหารถึงจะจัดทำงบการเงินภายใต้มาตรฐานบัญชีใหม่และในที่สุด IFRS?
• มีข้อมูลอะไรบ้างที่ต้องเปิดเผยโดยรวมในการเปลี่ยนไปสู่ IFRS และจะเปิดเผยอย่างไร?
• การเปิดเผยขององค์กรของเราเปรียบเทียบกับองค์กรที่คล้ายกันเป็นอย่างไร?

ผลกระทบต่อองค์กรธุรกิจและผู้ถือหุ้น

• ความต้องการในการฝึกอบรมคืออะไร? ใครนอกเหนือจากฝ่ายการเงินที่ต้องได้รับการฝึกอบรม? การฝึกอบรมสามารถจัดทำภายในได้หรือไม่?
• ระบบและขั้นตอนการรายงานทางการเงินปัจจุบันของเราให้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนไปใช้ IFRS หรือไม่? ต้องการระบบใหม่หรือไม่ สามารถอัพเกรดระบบที่มีอยู่ได้หรือไม่หรือต้องเปลี่ยนทั้งหมด?
• การวางระบบต้องทำงานควบคู่กันไปด้วยหรือไม่?
• การเปลี่ยนไปใช้มาตรฐานบัญชีใหม่มีผลกระทบต่อรายงานของฝ่ายบริหารภายในองค์กรหรือไม่? มีผลกระทบต่อขั้นตอนการวางแผน งบประมาณ และประมาณการณ์อย่างไร?
• มีแผนและกำหนดเวลาอย่างไรในการแจ้งผู้ถือหุ้นให้ทราบเกี่ยวกับผลกระทบจากการเปลี่ยนไปใช้ IFRS เกี่ยวกับองค์กรธุรกิจและอุตสาหกรรม? มีอะไรที่ต้องแจ้งผู้ถือหุ้นภายนอกและภายใน – พนักงาน ผู้ให้กู้ เจ้าหน้าที่ และ ซัพพลายเออร์?

นัยสำคัญต่อคณะผู้ตรวจสอบและบอร์ดคณะกรรมการ

• บอร์ดคณะกรรมการได้รับรายงานข้อมูลอัพเดตอย่างไรในการเปลี่ยนไปใช้ IFRS?
• กรรมการที่คนใดบ้างที่เข้าใจมาตรฐานบัญชีใหม่และ IFRS? จะอบรมกรรมการเกี่ยวกับ IFRS เมื่อไหร่และอย่างไร?
• เมื่อไหร่ที่สมาชิกคณะผู้ตรวจสอบและบอร์ดคณะกรรมการต้องได้รับแจ้งผลกระทบจาก IFRS รวมทั้งรายงานทางการเงิน ข้อมูลการบริหาร และอย่างไร?
• คณะกรรมการของบอร์ดจะเข้าใจและตรวจสอบการทำงานได้อย่างไรว่าการวางระบบ IFRS มีผลกระทบต่อวาระการประชุม บทบาท และความรับผิดชอบในการกำกับดูแล?
• ตารางเวลาการประชุมของคณะผู้ตรวจสอบและบอร์ดเพียงพอหรือไม่?
• สมาชิกคณะผู้ตรวจสอบจะมั่นใจได้อย่างไรในความเป็นเอกภาพของงบการเงินและระบบรายงานทางการเงิน?
• ผู้ตรวจสอบภายในและผู้ตรวจสอบภายนอกสามารถรับประกันความเกี่ยวเนื่องของมาตรฐานบัญชีใหม่กับการใช้ระบบ IFRS ได้หรือไม่?
• สมาชิกคณะผู้ตรวจสอบพอใจกับความรู้ใน IFRS ในปัจจุบัน หรือไม่และความสามารถของเราในการพิจารณาทางเลือกในนโยบายการเงินและกระบวนการการตัดสินใจของฝ่ายบริหารเป็นอย่างไร?

6 Responses to การเปลี่ยนแปลงไปสู่ IFRS – คณะผู้ตรวจสอบควรตั้งคำถามอะไร

  1. I must say this is a great article i enjoyed reading it keep the good work 🙂

  2. ik_que says:

    เท่าที่เข้าใจ อันนี้เป็นบทความที่แปลใช่ไหมครับ
    อ่านดูแล้ว แปลได้ดีเลยนะครับแต่อาจมีศัพท์บางตัวที่อยากจะ recommend เช่น
    Audit Committee ก็น่าจะหมายถึง คณะกรรมการตรวจสอบ
    External (and internal) auditor คือ ผู้ตรวจสอบภายนอก (และภายใน)
    Board คือ คณะกรรมการ (บริษัท) หรือ ใช้ บอร์ด อย่างใดอย่างหนึ่งครับ

    อีกนิดครับ
    น่าจะเขียน”ที่มา”นิดนึงนะครับว่า บทความแปลจากใหน หรือได้รับการรวบรวมข้อมูลจากที่ใดบ้าง เท่านี้ก็น่าจะเป็นงานแปลที่ดี (มากๆ) ได้ครับ

    • ket says:

      ใช่ครับเป็นบทความผมแปลให้กับฝ่ายบัญชีของบริษัทหนึ่ง อ้างอิงที่มาไม่ได้ครับ เพราะเป็นจดหมายข่าวเฉพาะสมาชิก ผมอยากให้หลายคนไอ้อ่านเลยเอาเผยแพร่

  3. nongnuch jaunjarean says:

    ดีค่ะสรุปเป็นข้อๆ ให้อ่านก็ไม่ต้องตีความยากดีค่ะ ชอบค่ะ

  4. Pingback: การเปลี่ยนแปลงไปสู่ IFRS – คณะผู้ตรวจสอบควรตั้งคำถามอะไร (via สีลม เจอร์นัล — Silom Journal) « stpkim

  5. นิรนาม says:

    ทำไมมาตรฐานการบัญชีของแต่ละประเทศไม่สามารถรวมกันได้

ส่งความเห็นที่ nongnuch jaunjarean ยกเลิกการตอบ